Booster Pump
" ปั๊มน้ำเพิ่มแรงดัน "
บูสเตอร์ปั๊ม จึงสามารถตอบสนองความต้องการการใช้น้ำของอาคารได้อย่างดี และคุ้มค่าที่สุดในทุกๆ อาคาร โดยเฉพาะอาคารสูงหรือในอาคารที่มีหลายชั้น มักพบ ปัญหาแรงดันของน้ำ ที่ท่อน้ำสำหรับจ่ายน้ำให้กับอาคารไม่เพียงพอ จึงต้องมีการใช้ชุด Transfer Pump และ ชุด Booster Pump (ชุดปั๊มน้ำเพิ่มแรงดัน) ให้กับระบบปั๊มน้ำ Booster Pump Control - ระบบรักษาแรงดันคงที่, เพิ่มแรงดันให้กับระบบ
หลักการทำงานของระบบบูสเตอร์ปั๊ม (Booster Pump) คือ การรักษาแรงดันระดับภายในระบบท่อ (แบบปิด)
ให้มีความคงที่สม่ำเสมอ โดยอาศัยการทำงานของสวิทย์แรงดัน (Pressure Switch) เช่น Danfoss : KP1,KP35
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ ตัวสั่งการทำงาน และหยุดการทำงาน
Package Booster Pump ที่นิยมใช้ประกอบกัน จะใช้เครื่องสูบน้ำจำนวนสองตัว ให้ทำงานสลับกันตามรอบ
และเสริมช่วยอีกตัว เมื่อแรงดันในระบบต่ำกว่าปกติ ที่ได้ปรับตั้งไว้ ให้สามารถเดินพร้อมกันได้ด้วย (Alternate-Parallel)
Booster Pump บางสถานที่ จะใช้ปั๊มน้ำถึงสามตัวเลยก็มี หลักการทำงาน ก็จะให้ปั๊มสูบน้ำ ทั้ง 3ตัวเดินเรียงกันไป
ตามรอบการทำงาน (Sequence) ในแรงดันสถานะเปิด-ปิดตามปกติ แต่ถ้าหากแรงดันตกมากในระดับหนึ่ง
ก็จะสั่งงานให้ปั๊มสูบน้ำเดินสองตัว หากแรงดันยังไม่พอจริงๆ วงจรในระบบ จะสั่งให้ปั๊มสูบน้ำทำงานทั้งสามตัว
ตู้ควบคุมการทำงาน (Control Panel) ของชุดครื่องสูบน้ำ ควรมีระบบป้องกันการเดินตัวเปล่าของปั๊มสูบน้ำด้วย
เพราะเมื่อระดับต่ำกว่าฟุตวาล์ว หรือท่อทางดูด เมื่อปั๊มสูบน้ำมีการใช้งาน ตัวเครื่องจะเดินตัวเปล่า ปั๊มน้ำจะร้อน
และอาจมีเสียงดัง จากนั้น จะทำให้ชุดแม็คซีลของเครื่องสูบน้ำเกิดความเสียหายได้
ส่วนการควบคุมแบบ Variable Speed Drive หรือเรียกสั้นๆว่า VSD จะใช้ Pressure Transmitter เป็นตัวสั่งงาน
สัญญาณแบบอนาล็อก เช่น Danfoss,Trafag เอาพุทเป็นแบบ 0-10VDC,0-5VDC หรือ 4-20mA.
หลักการทำงานของ Booster Pump
Booster pump ทำหน้าที่ในการรักษาแรงดันให้ระบบ ดังนั้นเมื่อมีการเปิดใช้น้ำในอาคาร ระดับแรงดันในเส้นท่อจะค่อยๆ ตกลงเรื่อยๆ จนถึงค่าที่ตั้งไว้ จากนั้น Pressure switch จะสั่งให้ระบบจ่ายไฟให้มอเตอร์ทำงานดูดน้ำเข้าสู่ระบบจากนั้นระดับแรงดันน้ำจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนถึงค่าที่กำหนด Pressure Switch ก็จะสั่งให้ระบบหยุดจ่ายไฟ แต่ในกรณีที่มีการใช้น้ำมากจนปั้มตัวที่หนึ่งทำงานไม่ทันทำให้ระดับแรงดันตกลงหรือไม่เพิ่มขึ้น ตู้ควบคุมปั้มน้ำก็จะสั่งให้ปั้มอีกตัวทำงานเสริมจนค่าแรงดันน้ำในระบบเพิ่มขึ้นและคงที่ ปั้มจึงจะหยุดการทำงาน โดยทั่วไปในอาคารที่ไม่ใหญ่มากนัก ระบบ Booster Pump ประกอบด้วยปั๊มจำนวน 2 ตัว ด้วยฟังก์ชั่นสลับและเสริมการทำงาน แต่ถ้าเป็นอาคารขนาดใหญ่จะใช้เป็นปั๊ม 3 ตัว
โดยส่วนประกอบหลักของชุด Booster Pump ประกอบด้วย
1. ปั๊มน้ำ - เป็นต้นกําลังขับเพิ่มเเรงดันนํ้าให้สูงขึ้น
2. Pressure diaphragm tank - เป็นตัวช่วยรักษาระดับเเรงดันของนํ้าให้คงที่ หน่วงการทำงานของปั๊ม ขณะปั๊มหยุดทํางานเเละเมื่อมีการใช้นํ้า
3. Control panel - เป็นตัวควบคุมสั่งการให้ปั๊มนํ้าทั้งสองตัวทํางาน สลับและเสริมการทำงานเเละป้องกันปั๊มนํ้าทั้งสองกรณีระบบไฟฟ้าขัดข้อง หรือ น้ำไม่เพียงพอในระบบ
4. Discharge header - ท่อทางส่งของปั๊มไว้สําหรับ รองรับท่อทางเเละนํ้าจากเเต่ละปั๊ม เพื่อจ่ายเข้าระบบ
5. Check valve - เป็นตัวกักนํ้าไม่ให้นํ้าไหลย้อนกลับขณะปั๊มทํางานเเละหยุดทํางานมีทิศทางเดียวกับการไหลของปั๊ม
6. Gate valve - มีหน้าที่เปิดเเละปิดเพื่อไม่ให้นํ้าไหลไปยังจุดต่างๆ หรือไว้ปิด ซ่อมเเซม
7. Pressure switch - เป็นตัวตั้งค่าเเรงดันในระบบ สามารถปรับตั้งค่าเพื่อตัดต่อการทำงานของปั๊มน้ำ โดยส่งสัญญาณไปยังตู้คอนโทรลอีกที
8. Pressure gauge - ใช้วัดและอ่านค่าเเรงดันนํ้าในระบบ
9.Flexible connection - เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างถังไดอะเเฟรมกับระบบท่อเพื่อให้เกิดการยืดหยุ่นเเละง่ายต่อการซ่อมบํารุง
10. Common Base Plate - เป็นฐานรองรับทุกส่วนของระบบ เช่น ปั๊มน้ำ , ถังไดอะเเฟรม , ตู้คอนโทรลปั๊มนํ้า
บูสเตอร์ปั๊ม
1. เหมาะสำหรับงานส่งน้ำอาคารสูง ได้แก่ คอนโด, อพาร์ทเมนท์, อาคารสำนักงาน และอื่นๆ
2.เหมาะสำหรับใช้ในสถานที่อำนวยความสะดวกชุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน โรงแรมและรีสอร์ท, โรงพยาบาล, โรงยิม, สนามกอล์ฟ, ชาวน่าขนาดใหญ่ และอื่นๆ
3. เหมาะสำหรับการงานอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า, โรงงานผลิตอาหาร, เครื่องทำความสะอาด และอื่นๆ
4. เหมาะสำหรับงานส่งน้ำ เช่น สวนสนุก, สวนสาธารณะ, สวนเพาะปลูก และอื่นๆ