เครื่องจักรในโรงงานน้ำมันถั่วเหลือง Conditioning Hammar Mill

Last updated: 20 พ.ย. 2567  |  50 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เครื่องจักรในโรงงานน้ำมันถั่วเหลือง Conditioning Hammar Mill

 

ทัศนศึกษา โรงงานน้ำมันถั่วเหลือง
ข้อมูลจากช่อง tigercrychannel

พามาชมเครื่องจักร ขั้นตอนกระบวนการต่าง ๆ ในการผลิตที่กว่าจะออกมาเป็นน้ำมันถั่วเหลือง จะต้องผ่านกระบวนการใดบ้าง ใช้เครื่องจักรอะไรในการผลิต วันนี้ไปติดตามชมกันเลยค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจากช่อง tigercrychannel

 

1. ถั่วเหลือง [นาทีที่ 0.30 น.]
    ถั่วเหลืองมีหลากหลายสายพันธุ์ ถั่วในประเทศไทย และต่างประเทศก็จะคนละสายพันธุ์ เพราะว่าแต่ละประเทศจะมีภูมิอากาศที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ก็จะเลือกใช้สายพันธุ์ที่เหมาะกับภูมิอากาศ ภูมิประเทศของเขา

ถั่วเหลืองทั้งหมดที่จะนำมาผลิตน้ำมันในโรงงาน

 

2. ที่เก็บถั่วเหลือง (Hopper) [นาทีที่ 2.20 น.]

Hopper (ฮอปเปอร์) ถังกรวย ใช้เพื่อป้อน (feed) วัสดุเข้าสู่เครื่องจักร มักใช้กับอาหารที่เป็นชิ้น อาหารแห้ง เมล็ดธัญพืช อาหารผง ส่วนป้อนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่พบในเครื่องจักรและอุปกรณ์แปรรูปอาหารหลายชนิด เช่น เครื่องบด เครื่องบรรจุ

ถั่วเหลืองถูกย้ายมาที่ Hopper ฮอบเปอร์ ถังกรวย กรวยบรรจุ ปากกรวย

 

3. สายพานลำเลียงถั่วเหลือง [นาทีที่ 2.20 น.]

จากนั้นถั่วเหลือง จะถูกลำเลียงไปตามสายพาน

 

4. ไซโลเก็บถั่วเหลือง [นาทีที่ 2.26 น.]

ไซโลเก็บเมล็ดพืชหรือเรียกอีกอย่างว่า ถังกักเก็บวัตถุดิบที่ใช้กันในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด อาหารสัตว์ แป้ง หรืออาจจะเป็นวัตถุอื่น ๆ รวมถึงอาหารสัตว์ก็ได้ ที่ต้องการกักเก็บให้อยู่ในความปลอดภัย ในสภาพแวดล้อม อุณหภูมิที่เหมาะสม เพื่อคงความสดใหม่ และคุณภาพไว้ในพื้นที่ถังของไซโล

 

 

 4. โรงสกัด [นาทีที่ 4.42 น.]

แบ่งเป็น 2 อาคารด้วยกัน คือ โรงเตรียม ขนถั่วเหลืองเข้ามาโดยรถบรรทุก เข้ามาทำความสะอาดถั่ว เตรียมคอนดิชั่นต่าง ๆ ของถั่วให้พร้อมก่อนเข้าเครื่องสกัด  และโรงกลั่น **รายละเอียดในหัวข้อที่ 8 **

 

 5. เครื่อง Conditioning / Flaking [นาทีที่ 6.10 น.]

     เครื่องรีดถั่วเหลือง ใช้รีดถั่วเหลืองออกมาเป็นแผ่นบาง ๆ

ลักษณะถั่วเหลืองที่ผ่านการรีดด้วยเครื่อง  Conditioning / Flaking

6. ถังสกัด  [นาทีที่ 6.10 น.]

    ถังสกัดน้ำมันถั่วเหลือง แยกออกมาเป็นกากถั่วเหลือง และน้ำมันถั่วเหลือง

 

ลักษณะถั่วเหลืองที่ผ่านถังสลัดแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ กากถั่วเหลือง และน้ำมันถั่วเหลืองดิบ

 

7. Hammar Mill (เครื่องป่น)  [นาทีที่ 8.39 น.]

แฮมเมอร์มิล (hammer mill) หรืออาจเรียกว่า เครื่องบดแบบค้อนเหวี่ยง คือ เครื่องบดที่ใช้ลดขนาด (size reduction)
อาหารแข็งได้หลากหลาย เช่น เมล็ดธัญพืช (cereal grain) เครื่องเทศ (spice) น้ำตาล เศษกระดูก

 

เครื่องแฮมเมอร์มิลล์ (hammer mill) มีลักษณะหัวบดเป็นหัวค้อน (hammer) หรือก้านที่ติดอยู่บนเพลา อาศัยกลไกการ
เหวี่ยงกระแทก ทำให้วัสดุแตกเป็นชิ้นเล็กลง และมีตะแกรงเจาะรู เป็นตัวกั้น เพื่อให้เครื่องบด บดวัสดุให้ได้ขนาดที่ต้องการ
จึงปล่อยออก

 

ลักษณะกากถั่วเหลืองที่ผ่านเครื่องป่น สามารถนำไปผสมในอาหารสัตว์ได้

 8. โรงกลั่น  [นาทีที่ 9.17 น.]

      หลังจากได้น้ำมันจากโรงสกัด ก็จะถูกลำเลียงมาตามท่อเข้ามาที่โรงกลั่น เพื่อเข้าสู่กระบวนการต่าง ๆ ที่ทำให้น้ำมันบริสุทธิ์และเหมาะกับการบริโภค โดยนำเอาสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป รวมถึงการเอาเม็ดสีออก เพื่อให้น้ำมันใสน่าใช้

 

เครื่องเอาเม็ดสีออกจากน้ำมันถั่วเหลือง โดยใช้แป้งจากภูเขาไฟ เป็นแร่ชนิดหนึ่งชื่อ Bentonite
 

เครื่องที่เอากลิ่นออกจากน้ำมัน เพื่อไม่ให้น้ำมันถั่วเหลืองมีกลิ่นที่ไม่ต้องการ

 

9. Gas Chromatogrhy (GC) [นาทีที่ 11.10 น.]
Gas Chromatography (GC) คือ เทคนิคแยกสารตัวอย่างให้กลายเป็นไอเพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์องค์ประกอบของสารตัวอย่าง ตรวจคุณภาพของถั่วเหลือง ยืนยันคุณภาพตามที่ต้องการ ช่วยในการวิเคราะห์ส่วนประกอบต่าง ๆ ในถั่วเหลือง

 

การดูแลสิ่งแวดล้อมในโรงงาน

10. Boiler [นาทีที่ 12.45 น.] 

      บอยเลอร์ (Boiler) หรือเครื่องผลิตไอน้ำ คืออะไร ? บอยเลอร์ คือ เครื่องผลิตไอน้ำ ซึ่งเครื่องผลิตไอน้ำเหล่านี้จะเผาไหม้เชื้อเพลิงในหม้อผลิตไอน้ำ จึงทำให้มีไอน้ำและแรงดันในหม้อผลิตไอน้ำเกิดขึ้นมา ซึ่งแรงดันเหล่านี้จะถูกส่งไปใช้กับเครื่องจักรต่างๆภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั่นเอง

 

ความร้อนที่เอามาใช้ในโรงงานมาจากตรงนี้ทั้งหมด

 

12. พลังงานชีวมวล (Biomass Energy) ลดปริมาณขยะ [นาทีที่ 13.02]

      ในโรงงานใช้พลังงานชีวมวล ใช้ในการต้มน้ำ คือ พลังงานที่ผลิตได้จากวัสดุชีวมวล ทั้งพืชและสัตว์รวมถึงเศษวัสดุเหลือทิ้งจากเกษตรและอุตสาหกรรม 

ข้อดีของพลังงานชีวภาพ/ชีวมวล :

เป็นพลังงานหมุนเวียนที่สามารถผลิตได้อย่างไม่จำกัด และไม่หมดไปเหมือนพลังงานฟอสซิล
รวมถึง "ไม่ส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนพลังงานฟอสซิล
ช่วยลดปริมาณขยะและขยะชีวภาพที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม พร้อมช่วยลดการฝังกลบขยะ"

 

 

13. ESP เครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต [นาทีที่ 13.11]

      Electrostatic Precipitator (ESP) ใช้ดักจับฝุ่นที่ออกจาก Boiler เพื่อควบคุมการปล่อยฝุ่นไม่เกินตามกฎหมายควบคุม ซึ่งกฎหมายจะให้ปล่อยฝุ่นไม่เกิน 320 ppm แต่ในโรงงานสามารถจัดการเรื่องฝุ่น โดยปล่อยฝุ่นออกมาเพียง 50 ppm

 

14. ระบบบำบัดน้ำเสีย Wastewater Treatment [นาทีที่ 13.25]

    ใช้ระบบบำบัดน้ำหมุนเวียน ไม่ปล่อยน้ำเสียออกมา ใช้น้ำหมุนเวียนอยู่ในโรงงาน 

 

15. โรงงานใกล้แหล่งชุมชน ต้องจัดการมลพิษทางเสียง [นาทีที่ 13.46]

    โดยตัวตึกจะทำผนังเป็น 2 ชั้น และควบคุมให้เสียงบริเวณตัวโรงงาน ไม่เกิน 70 เดซิเบล และพยายามตั้งโรงงานอยู่บริเวณกลางพื้นที่ กว่าเสียงจะไปถึงขอบรั้วโรงงาน เสียงก็เบาลงไปเยอะ ทำให้ไม่เกิดมลพิษทางเสียงต่อชุมชน

 

ภาพรวมพื้นที่ตั้งของโรงงานทั้งหมด ซึ่งอยู่ใกล้ชุมชน ติดกับแม่น้ำ

 

โดยสรุป โรงงานการผลิต นอกจากคุณภาพสินค้าที่ได้คุณภาพ สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลย นั่นคือ การดูแลสิ่งแวดล้อม ทั้งนำ ,ฝุ่น ,กลิ่น และเสียง พวกกลิ่นที่เกิดจากกระบวนการผลิตต่าง ๆ ก็ควรมีการใส่ระบบดักกลิ่น มีการใส่ Buffer รอบเครื่องจักร เพื่อดูดซับแรงกระแทก ลดการเกิดเสียงลง

 

 

หากท่านใดที่สนใจปั๊มน้ำอุตสาหกรรม อุปกรณ์ในระบบบำบัดน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเติมอากาศ เครื่องรีดตะกอน เครื่องกวนตะกอน เครื่องสูบน้ำเสีย ปั๊มน้ำอุตสาหกรรม สูบส่งน้ำ ระบบหมุนเวียนน้ำ ระบบสูบจ่ายน้ำ ระบบระบายน้ำ งานชลประทาน ปั๊มดูดโคลน ปั๊มดูดของหนืด บริษัท ภัทรพัฒน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ยินดีให้บริการ เรามีทีมออกแบบโดยวิศวกร พร้อมติดตั้ง เรากล้ารับประกันว่าได้ตามที่นำเสนอ และมีอะไหล่ตลอดอายุการใช้งาน

 

Line ID : @bossumpump
>> คลิก <<


K. นนท์ 094-6945982
K. ไก่ 065-5356228
K. บี 096-7829353
.
E-mail : patpat.engineering@gmail.com
ดูสินค้าได้ที่เว็บไซต์ www.ppengineer.com

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้